สกินแคร์คืออะไร มาหาคำตอบกับทุกเรื่องควรรู้กันได้เลย

สกินแคร์คือ

ในการดูแลผิวหน้าหลาย ๆ คนคงพอจะรู้กันดีว่าสกินแคร์คือผลิตภัณฑ์ที่ช่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทว่าบางคนอาจไม่รู้ว่าสิ่งนี้คืออะไร จึงไม่รอช้าพามาหาคำตอบกับทุกเรื่องควรรู้กันได้เลย รับรองต่อไปนี้จะใช้กันแบบง่ายดายและเห็นผลลัพธ์อันแสนพึงพอใจสูงสุด

สกินแคร์คืออะไร มีคำตอบมาบอก

สกินแคร์ คืออะไร? สกินแคร์หากแปลแบบง่าย ๆ ก็คือสิ่งที่ช่วยบำรุงผิวให้มีสุขภาพที่ดีมากขึ้น ดูมีสุขภาพดี น่าดึงดูด ไม่ว่าจะเป็นผิวหน้าหรือผิวกายก็ตาม แต่หากเป็นแปลแบบลึกซึ้งก็คือเครื่องสำอางที่มีพลังอำนาจในการเปลี่ยนแปลงทักษะในการตกแต่ง จึงเป็นความหมายของ Cosmetics ก็มาจากคำว่า “Kosm tikos” นั่นเอง 

โดยเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่ถือกำเนิดสกินแคร์ตัวแรกนั้นจริง ๆ มีความยาวนานมากกว่าที่คิด หลายคนอาจจะสงสัยว่าใครคิดค้น จะเป็นคลีโอพัตราที่เล่าขานกันหรือไม่ เราไปศึกษาจุดเริ่มต้นของสกินแคร์เลยดีกว่า โดยที่จุดกำเนิดของการเกิดสกินแคร์นั้นแบ่งได้เป็น 3 ช่วง ก็คือ ช่วง Prehistory, ช่วง History และช่วง Modern Cosmetics 

  • ช่วง Prehistory : เริ่มต้น ช่วง Prehistory เป็นช่วงแรกที่มีการลองผิดลองถูก มีการนำมาใช้เกี่ยวกับความเชื่อ ศาสนา การรักษาโรค ที่ส่วนใหญ่เน้นไปทางเวทมนตร์คาถา ไม่มีอะไรที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์เลย อย่าง การสัก การทาหน้าของชนเผ่าต่าง ๆ การทาตัวด้วยพืชสมุนไพร แร่ธาตุ ป้องกันแสงแดด ฯลฯ โดยที่ยังไม่ได้มีส่วนผสมสกินแคร์ใดมาร่วมด้วย
  • ช่วง History : ช่วง History ถือเป็นช่วงที่จะแยกระหว่างความเชื่อ ศาสนา เครื่องสำอาง และการรักษาโรค ทั้งยังเป็นการกำเนิดของ Cold Cream ที่ Galen เป็นผู้คิดค้นในยุคโรมัน โดยความต้องการในการสร้างสิ่งนี้ก็เพื่อลดอาการแพ้ที่มีส่วนผสมหลากหลาย เช่น น้ำมันมะกอก ไขผึ้ง น้ำกุหลาบ ที่เป็นรากฐานของครีม ทั้งในยุคนี้ยังเกิดโคโลญที่ทำให้กลิ่นกายหอมยั่วยวนทั่วบ้านทั่วเมือง เรียกได้ว่าเป็นการกำเนิดที่น่าสนใจมากผู้หญิงเสริมสร้างความสวยงามได้เต็มที่เลยเชียว
  • ช่วง Modern Cosmetics : สำหรับ Modern Cosmetics เป็นยุคแห่งการเกิดเครื่องสำอางที่แท้จริง เริ่มมีการใช้สารเคมีมาเกี่ยวข้องอยู่ด้วยเมื่อต้องทำสกินแคร์ ที่สำคัญไม่ใช่แค่การเกิดเครื่องสำอาง หรือสกินแคร์ แต่ยังเป็นช่วงแห่งการเกิดขึ้นของ อย. หรือ FDA ก็มีขึ้นในยุคนี้ โดยที่ในปี 1939 ก็มีบริษัทเครื่องสำอางเกิดขึ้นด้วย เช่น Avon, P&G และ Elizabeth Arden เป็นต้น 

เนื้อสัมผัสทั้งหมดของสกินแคร์มีอะไรบ้าง

1. เนื้อสัมผัสแบบเจล

มีให้เลือก 2 รูปแบบด้วยก็คือเจลเนื้อน้ำ และเจลเนื้อน้ำมัน โดยที่เนื้อน้ำนั้น พบเห็นได้ทั่วไป โดยที่ทาแล้วจะแตกตัวเป็นน้ำซึมเข้าสู่ชั้นผิว โดยที่ยังแบ่งส่วนประกอบเป็น Aqueous Gel แต่ถ้าเป็น Hydroalcoholic Gel ก็คือจะมีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมร่วมด้วย และเจลเนื้อน้ำมันที่เป็นสกินแคร์ใหม่ ที่ส่วนผสมเพิ่มความชุ่มชื้นมากกว่าหลายเท่า ส่วนใหญ่เป็นเจลเนื้อน้ำมันที่เรียกว่า Capsule 

2. เนื้อสัมผัสผงแป้ง 

เป็นแบบ Powders ที่เป็นทั้งแบบแป้งอัดแข็งหรือแป้งตลับที่จะอัดแน่นลงไปในตลับโดยมีน้ำมันเป็นส่วนผสม เพื่อให้พกพาได้ง่ายมากขึ้น ใช้งานสะดวก มีการใส่เม็ดสีเพื่อปรับความสว่างของผิวไว้ด้วย ช่วยปกปิดจุดบกพร่องบนใบหน้าได้ดี และอีกชนิดคือแป้งฝุ่นที่เอาไว้ปัดแต่งหน้าเพื่อควบคุมความมันได้อย่างดี

3. เนื้อสัมผัสแบบบาล์ม

ที่เห็นได้โดยทั่วไป เป็นบาล์มบำรุงที่เพิ่มความชุ่มชื้นต่อผิวได้ดี โดยจะเป็นเนื้อบาล์มมีประโยชน์ต่อเรามาก เพราะช่วยรักษาผิวรักษาบาดแผล ให้ความชุ่มชื้นอย่างดี ไม่ทำให้ผิวอักเสบได้ง่าย ช่วยคลีนซิ่งทำความสะอาดอย่างดี

4. เนื้อสัมผัสแบบโซลูชั่น

ที่มีทั้งสิ้น 3 รูปแบบด้วยกัน คือ แบบน้ำ ที่จะอยู่จำพวกโทนเนอร์ เอสเซนต์ สกินแคร์แบบแผ่น บูสเตอร์ ฯลฯ อีกแบบคือน้ำมันที่จัดอยู่ในจำพวกคลีนซิ่งออยล์ น้ำมันบำรุงผิว และสุดท้ายก็คือแบบแอลกอฮอล์ที่เห็นได้บ่อยมาก ๆ ในผลิตภัณฑ์โทนเนอร์สูตรเพื่อคนผิวมันน้ำหอม เป็นต้น

5. เนื้อสัมผัสแบบอีมัลชั่น

ที่บางคนอาจจะคุ้นหูอย่างมาก เพราะอีมัลชั่นนี้ได้มีการผสมระหว่างน้ำกับน้ำมัน ที่มีแค่ความเข้มข้นที่ต่างกัน ซึ่งจะมีลักษณะเนื้อเข้มข้นมากจัดอยู่ในประเภทครีม และความเข้มข้นน้อย เกลี่ยง่าย ซึมซาบได้ไวก็จะอยู่ในประเภทโลชั่น

6. เนื้อสัมผัสแบบแท่ง

ที่จะอยู่ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ช่วยระงับกลิ่นกาย รวมถึงบรรดาลิปสติก เพื่อให้สะดวกสบายและง่ายต่อการใช้งาน อย่าง อายครีม กันแดดแบบแท่งที่เอาพกติดตัวไปเติมได้ทุกเวลา

7. เนื้อสัมผัสแบบสเปรย์

ที่จะมีความพิเศษมากว่าตัวอื่นตรงที่เป็นเนื้อแบบเหลวหรือแข็งได้เลยส่วนใหญ่จะเป็นเนื้ออีมัลชั่น โซลูชั่นและผงแป้งมาอัดก๊าซไว้แล้วใส่ในบรรจุภัณฑ์กลายเป็นแรงดัน เวลาที่ฉีดออกไปก็จะกลายเป็นฝอย เจอได้บ่อยในผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย และครีมโกนหนวด

8. เนื้อสัมผัสแบบแขวนลอย

เป็นเนื้อสัมผัสที่มีเหมือนเม็ดของแข็งลอยที่จะอยู่ในของเหลว โดยที่ของแข็งที่มีไม่ละลาย ทำให้เกิดการแยกชั้นได้ จึงต้องมีการเขย่าก่อนใช้งานนั่นเอง พูดถึงสกินแคร์ที่น่าสนใจก็เช่น ยาทาเล็บ รองพื้น แป้งน้ำ ฯลฯ

9. เนื้อสัมผัสแบบสบู่ก้อน

จริง ๆ สบู่ก้อนถือเป็นสกินแคร์ที่แบ่งแยกออกเป็น 3 ชนิดด้วยกัน คือ สบู่ใส ที่มีสูตรอ่อนโยน เพิ่มสารให้ความชุ่มชื้น สบู่ทั่วไป ที่เราใช้อาบปกติ มีความด่างสูง ใช้แล้วช่วยให้ร่างกายสะอาด และสบู่สังเคราะห์ ที่ถือว่ามีราคาแพงสุด ใช้ต้นทุนในการทำสูง เข้ากับผิวได้ดีเพราะมีค่าความด่าง pH 5.5 – 7 เท่านั้น

10.  เนื้อสัมผัสแบบสครับ

สุดท้ายจะเป็นเนื้อที่มีลักษณะคล้ายเนื้อแขวนลอย แต่จะเข้มข้นมากกว่า และมีเม็ดบีตผสมอยู่ด้วย เพื่อให้รู้สึกได้ถึงการใช้งานต่อผิวที่มีอย่างล้ำลึก เช่น สครับมาสก์หน้า หรือในยาสีฟันก็มี

ปัญหาผิวแบบนี้เลือกส่วนผสมสกินแคร์ยังไงดีนะ

สกินแคร์คือ

การมองหาใช้สกินแคร์อะไรดี? ส่วนผสมที่มีสำคัญมาก เพื่อตอบโจทย์การใช้งานกับปัญหาผิวที่มี นั่นคือ 

  • Moisturizer (ให้ความชุ่มชื้น) : Hyaluronic Acid, Sodium PCA, Propylene Glycol, Ceramides, Ammonium Lactate และ Sorbitol
  • Whitening (ปรับผิวกระจ่างใส) : Alpha-Arbutin, Vitamin C, Kojic Acid และ Glycolic Acid
  • Anti-Aging (ลดเลือนริ้วรอย) : Retinol, Coenzyme Q10, Caffeine, Biotin, Green Tea Extract และ Tocopherol
  • Anti-Pollution (ปกป้องผิวจากมลภาวะ) : Malachite, Activated Charcoal, Algae Extract, Sea Salt Minerals และ Vitamin C
  • Antioxidants (ต่อต้านอนุมูลอิสระ) : Green Tea Extract, Lycopene, Caffeine,  Vitamin C และ Grape Seed Extract
  • Anti-Acne (ลดสิว) : Benzoyl Peroxide, Salicylic Acid, Tea Tree Oil และ Retinoids
  • Anti-Inflamatory (ลดการอักเสบ) : Chamomile, Licorice, Oatmeal, Ginger และ Turmeric (Curcumin)
  • Sunscreen (ปกป้องผิวจากแสงแดด) : Resveratrol, Titanium Dioxide และ Mexoryl SX 

เลือกสกินแคร์แบบใดให้เหมาะกับผิวของตนเอง

1. สภาพผิวแห้ง 

แนะนำว่าให้เลือกสกินแคร์ที่เป็นเนื้อสัมผัสแบบบาล์ม โซลูชั่นแบบน้ำมัน เพื่อให้ผิวชุ่มชื้น กักเก็บน้ำได้ดี แต่ที่ควรเลี่ยงคือแบบเนื้อสครับ เนื้อสบู่ เพราะจะยิ่งทำให้ผิวบางมากขึ้น รวมถึงแบบโซลูชั่นน้ำที่ทำให้ผิวกักเก็บความชุ่มชื้นไม่เพียงพอ และส่วนผสมที่ไม่ควรใช้เลยก็คือ BHA, แอลกอฮอล์, ซัลเฟต แต่ที่ควรลองใช้แนะนำเป็น AHA ที่เติมเต็มน้ำให้ผิวก็จะเห็นผลได้ดี

2. สภาพผิวผสม

แนะนำว่าให้เลือกใช้สกินแคร์ผิวผสมที่เป็นในส่วนของคนผิวมันในช่วงที่เป็น T – Zone คือ หน้าผากและจมูก กับผลิตภัณฑ์สกินแคร์ผิวแห้งช่วง U – Zone อย่าง ข้างแก้ม คาง และรอบดวงตา ก็จะช่วยให้การดูแลตรงจุดมากขึ้น แต่ถ้าไม่อยากใช้ซับซ้อนมาก ก็อยากแนะนำให้เลือกเป็นแบบอีมัลชั่น แบบโซลูชั่นน้ำรับรองว่าเหมาะสมกับผิวมาก ส่วนในเรื่องส่วนผสมที่ควรเลี่ยงก็จะเป็นส่วนของซิลิโคน และแอลกอฮอล์ รวมถึงบาล์มต่าง ๆ เพราะอาจทำให้เกิดปัญหารูขุมขนอุดตันได้ง่าย

3. สภาพผิวมัน

แนะนำว่าให้เลือกใช้งานสกินแคร์ที่มีเนื้อสัมผัสที่บางเบา มีการซึมซาบเข้าสู่ชั้นผิวได้ง่าย อย่างโลชั่น เนื้อเจล หรือโซลูชั่นแบบน้ำ แต่หากเป็นส่วนผสมที่ไม่ควรมี เช่น AHA, ซิลิโคน ที่จะทำให้สิวเกิดการอุดตัน สารที่ควรมีคือ BHA เพราะจะช่วยละลายในน้ำมันได้ดี ทั้งแทรกซึมเข้าไปในชั้นผิวได้แบบที่ผิวไม่อุดตันด้วย

4. สภาพผิวแพ้ง่าย

แนะนำว่าให้เลือกใช้งานแบบเนื้อโซลูชั่นน้ำที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เพื่อเลี่ยงความเสี่ยงปัญหาผิวที่แพ้ง่าย ซึ่งเนื้อสัมผัสที่ควรเลี่ยงอีกก็คือเนื้อสครับ เนื้อสบู่ โซลูชั่นแบบแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้เกิดการรับกวนผิว ทำให้ผิวแห้ง ผิวแพ้ง่าย เกิดการระคายเคืองมากขึ้น ส่วนที่ควรเลี่ยงนอกจากแอลกอฮอล์ ก็คือน้ำหอม, AHA, BHA, พาราเบน รวมถึงสารอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ง่าย ๆ 

อย่างไรก็ตาม บางคนอาจไม่รู้มาก่อนว่าขั้นตอนลงสกินแคร์เป็นแบบไหน เราก็ไม่พลาดที่จะมาแนะนำด้วยเช่นกัน โดยในขั้นแรกให้ใช้ Oil-Based Cleanser เพื่อดักจับสิ่งสกปรกออกจากรูขุมขน ต่อมาคือ Water-Based Cleanser หรือโฟมล้างหน้าทำความสะอาดอีกครั้ง ให้ผิวสดชื่น ต่อมาคือ Exfoliator ที่ผลัดเซลล์ผิวเก่าให้ออกไปง่าย ๆ และทดแทนด้วยเซลล์ผิวใหม่ 

ต่อมาคือ Toner ที่นำมาปรับสภาพผิวพร้อมรับการบำรุงเต็มที่ ต่อมาคือ Essence เริ่มต้นบำรุงผิวที่เนื้อเบาบางที่สุด แล้วใช้เป็นเซรั่มบำรุงผิวเพื่อแก้ปัญหาให้ตรงจุดมากขึ้น อย่างรอยสิว ฝ้า กระ จุดด่างดำ ริ้วรอยร่องลึก ต่อมาเป็น Sheet Masks ที่จะเป็นการมาสก์ที่ล้ำลึกมาก เก็บสารอาหาร เก็บความชุ่มชื้นไว้ที่ผิวยาวนาน 

ต้องการดูแลรอบดวงตา ให้ผิวใต้ตามีสุขภาพดีดูหน้าไม่แก่ก่อนวัยก็ใช้ Eye Cream ต่อได้เลย ขั้นตอนการเติมน้ำให้ผิวต่อมาใช้ มอยส์เจอร์ไรเซอร์ ผิวอิ่มน้ำเปล่งปลั่ง 

และสุดท้ายคือการใช้ Sun Protection ด้วยการทาครีมกันแดดกลางวันเป็นครีมกันแดด หรือ Sleeping Mask ที่กลางคืนเป็นมาร์กกักเก็บความชุ่มชื้น

Recommended Posts